top of page
CHS08123.jpg

พุระกำ

ชีวิตที่ยั่งยืนอาจถูกกลืน
ใต้อ่างเก็บน้ำ

CHS08065.jpg

หลังจากถูกอพยพโยกย้ายจากหมู่บ้านเก่าที่อยู่ในป่าใกล้ชายแดนไทย-พม่ามาอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี ม.6 ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ชาวบ้านพุระกำได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการทำไร่หมุนเวียนสู่การทำไร่ถาวรภายใต้กฎหมายอนุรักษ์ป่า แม้ไม่สามารถปลูกข้าวไร่แบบเดิมได้แล้ว แต่ชาวบ้านหันมาปลูกพืชผักส่งขายตลาด สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนของตัวเอง พวกเขาปลูกทุกสิ่งที่ต้องกินต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็นไม้ใช้สอย เช่น ไผ่ สน ยูคา หรือไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ มะม่วง อโวคาโด้ รวมทั้งพืชอาหารที่เคยต้องเข้าไปหาในป่า พวกเขาก็นำมาปลูกในพื้นที่ของตัวเอง เช่น ผักหวานป่า และผักกูด ผลผลิตต่าง ๆ นั้นไม่ใช่แค่พอกิน แต่ยังเป็นรายได้เอาไปขายในตลาดสร้างรายได้ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจครัวเรือน ส่งลูกหลานไปเล่าเรียนศึกษาหาความรู้มาพัฒนาชุมชนต่อได้ และที่สำคัญพวกเขาใช้ทรัพยากรจากป่าน้อยลงมาก ไม่ยุ่งเกี่ยวบุกรุกแผ้วถางอีกต่อไปแล้ว ทั้งยังคอยปกป้อง รักษาผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำที่มอบชีวิตให้พวกเขา 

ทว่าความไม่แน่นอนในชีวิตก็เกิดขึ้นอีกครั้งหลังกรมชลประทานประกาศว่าจะสร้างอ่างเก็บน้ำหนองตาดั้ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ป่าและที่ทำกินของชาวบ้านพุระกำกว่า 2,000 ไร่ ส่งผลให้ชาวบ้านอาจจะต้องอพยพอีกครั้ง และต้องสูญเสียพื้นที่ป่าต้นน้ำอันเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า และพืชพรรณต่างๆไปอีกจำนวนมาก

CHS08204.jpg

ในวันนี้ชาวบ้านพุระกำได้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตร่วมไปกับแนวทางการอนุรักษ์ป่าจากภาครัฐอย่างเคร่งครัดจนได้เป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรกของประเทศไทย ตามโครงการพื้นที่นำร่องคนอยู่ร่วมกับผืนป่า และสัตว์ป่าโดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี  แม้จะมีหลายจุดที่ยังเป็นปัญหาอยู่บ้างในด้านนโยบายกับความต้องการของชาวบ้านแต่ภาพรวมถือว่ากำลังขับเคลื่อนไปด้วยความราบรื่น

"ที่ดินนี่ต้องจับฉลากกัน ใครได้ที่ดีก็ปลูกพืชผลได้ดี บางคนได้ที่ดินบนเนินเขา มีแต่หินก็ต้องไปตั้งหลักคิดก่อนว่าจะทำอะไรได้บ้าง" เปเล่ กั่วพู่ เล่าถึงการแบ่งที่ดินทำกินกันของชาวบ้านพุระกำ

CHS06244.jpg

“ที่ดินนี่ต้องจับฉลากกัน ใครได้ที่ดีก็ปลูกพืชผลได้ดี บางคนได้ที่ดินบนเนินเขา มีแต่หินก็ต้องไปตั้งหลักคิดก่อนว่าจะทำอะไรได้บ้าง” เปเล่ กั่วพู่ เล่าถึงการแบ่งที่ดินทำกินกันของชาวบ้านพุระกำ

CHS08424.jpg
CHS08201.jpg
CHS08163.jpg
CHS08217.jpg
CHS06553.jpg
CHS07024.jpg
CHS06621.jpg

ลำน้ำภาชีและห้วยพุระกำเป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำหลายชนิด เป็นแหล่งอาหารให้กับชาวบ้าน โดยชาวบ้านจะใช้วิธีการจับปลาแบบดั้งเดิมไม่ใช้ไฟช็อต ทำให้ปลาขยายพันธุ์ได้ มีความมั่นคงทางอาหารและไม่ทำลายระบบนิเวศ

"เราจับปลาแค่พอกิน แต่ก็มีคนนอกชุมชนพยายามเข้ามาจับปลาในชุมชนของเรา"

CHS06971.jpg
CHS06953.jpg
CHS06693.jpg
CHS06608.jpg
CHS06006.jpg

เป็นความท้าทายอย่างมากของการเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรจากการทำไร่หมุนเวียนที่กินใช้ในครัวเรือนมาสู่การทำเกษตรถาวรที่ต้องนำผลผลิตไปขายในตลาด แต่ชาวบ้านก็ปรับตัวจนเข้าสู่จุดที่ลงตัวทั้งเรื่องรายได้และการใช้ชีวิต ด้วยอำเภอสวนผึ้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ผลผลิตของชาวบ้านที่นำออกไปขายจึงมีตลาดรองรับ

การปลูกพืชผักและไม้ใช้สอยเพื่ออุปโภคบริโภค ลดการใช้ทรัพยากรจากป่าไปได้อย่างมาก ชาวบ้านหลีกเลี่ยงการกำจัดศัตรูพืชด้วยสารเคมีเพราะกลัวผลกระทบจากการปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ ทั้งยังเพิ่มต้นทุนและยังส่งผลเสียต่อพืชบางชนิด เช่น ทุเรียน ทำให้การเกษตรของชาวบ้านพุระกำส่งผลดีต่อสุขภาพของชาวบ้าน และผู้บริโภคที่ปลายทางด้วย

โดยกลุ่มผู้หญิงยังมีบทบาทสำคัญในระบบการเกษตรของชาวบ้านพุระกำด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการผลผลิต และการนำออกจากหมู่บ้านไปขาย บางคนมีอาชีพหลักที่มีรายได้รายเดือนและมีรายได้เสริมจากผลผลิตการเกษตร "ตอนนี้รายได้เสริมจากผักกูดบางเดือนจะเยอะกว่ารายได้หลักแล้วค่ะ" ชาวบ้านเล่าถึงรายได้จากผักกูดที่เธอปลูกไว้ในแปลงขนาดเล็กริมลำน้ำภาชี ผักกูดมีราคาขายส่งกิโลกรัมละ 40-50 บาท สร้างรายได้ให้ราวๆเดือนละ 8,000 บาท โดยชาวบ้านจะเอาไปส่งขายตามรีสอร์ตและร้านอาหารในอำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี

CHS06390.jpg

ทุเรียน เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม แม้จะมีการปลูกทุเรียนมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยมีหลักฐานเป็นทุเรียนต้นใหญ่ริมน้ำ ซึ่งผู้ปลูกได้นำเมล็ดพันธุ์มาจากบ้าน "ใจแผ่นดิน" เมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว แต่ชาวบ้านพุระกำก็เพิ่งปลูกทุเรียนแบบจริงจังในสวนของตัวเองได้ไม่นานมานี้ การปลูกไม้ยืนต้นอย่างทุเรียนมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง และการปลูกทุเรียนยังส่งผลให้เกษตรกรลดการไถพรวน ลดการใช้สารเคมี และลดการเผาเศษวัชพืชลงได้ด้วย ชาวบ้านบางคนมีรายได้จากทุเรียนราว 50,000-60,000 บาทต่อปี และในอนาคตรายได้ของชาวบ้านจะสูงขึ้นตามผลผลิตทุเรียนที่ได้ลงทุนลงแรงปลูกไว้ แต่หากมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นที่นี่ ต้นทุเรียนและพืชพันธุ์อื่นๆที่ชาวบ้านปลูกไว้จะต้องจมน้ำเสียหายทั้งหมด

 

"คนของกรมชลประทานบอกว่าทุเรียนผมมีค่าต้นละไม่เกิน 500 บาท" มีชัย กั่วพู่ เล่าถึงตอนที่กรมชลประทานส่งคนมาสำรวจพื้นที่ ต้นทุเรียนอายุ 9 ปีที่กำลังออกดอกช่อเต็มต้น เตรียมให้ผลผลิตมูลค่าหลักหมื่นบาท ถูกตีค่าตีราคาไว้ 500 บาท จากคนที่อยากสร้างอ่างเก็บน้ำ คุณค่าของเวลาและแรงงานมักถูกมองข้ามไป และถึงขั้นมองข้ามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไปด้วย

"คนของกรมชลประทานบอกว่าทุเรียนผมมีค่าต้นละไม่เกิน 500 บาท" มีชัย กั่วพู่ เล่าถึงตอนที่กรมชลประทานส่งคนมาสำรวจพื้นที่ ต้นทุเรียนอายุ 9 ปีที่กำลังออกดอกช่อเต็มต้น เตรียมให้ผลผลิตมูลค่าหลักหมื่นบาท ถูกตีค่าตีราคาไว้ 500 บาท จากคนที่อยากสร้างอ่างเก็บน้ำ คุณค่าของเวลาและแรงงานมักถูกมองข้ามไป

และถึงขั้นมองข้ามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไปด้วย

CHS06433.jpg
CHS07417.jpg
CHS05680.jpg
CHS06262.jpg
CHS06318.jpg
CHS06277.jpg
CHS07310.jpg

ชาวบ้านพุระกำยังมีแนวทางลดการใช้ทรัพยากรจากป่าที่สำคัญคือการปลูกไม้ใช้สอยเอง โดยที่อยู่อาศัยของชาวพุระกำแต่เดิมในอดีตนั้นสร้างด้วยไม้หลายชนิดที่พอจะหาได้จากป่า ไม่มีความคงทนถาวรเท่าใดนัก แต่ในปัจจุบันชาวพุระกำที่มีรายได้จากการทำเกษตร นิยมปลูกสร้างบ้านเรือนจากวัสดุจากภายนอกชุมชน เช่น เสาคอนกรีต หลังคาเมทัลชีท และใช้ไม้สนหรือไม้ยูคาที่ปลูกไว้ในไร่ในสวนของตัวเอง ไม้โตไวเหล่านี้อายุเพียง 4-5 ปีก็พร้อมที่จะตัดมาสร้างบ้านเรือนได้แล้ว อีกทั้งยังสามารถตัดขายได้ด้วย ซึ่งเป็นการลดปัญหาการตัดไม้จากป่า และสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิต ในส่วนของไม้ใช้สอยในพื้นที่เกษตรจะใช้ไม้ไผ่รวกเป็นหลัก ชาวบ้านจึงมีไผ่รวกในสวนของตัวเอง เป็นไม้โตเร็ว ใช้ในแปลงผัก และเป็นแหล่งอาหาร ชาวบ้านไม่ต้องเข้าไปหาหน่อไม้ในป่า สามารถเก็บหน่อไม้กินได้จากสวนของตัวเอง

 

การปลูกไม้ใช้สอยจึงเป็นสิ่งที่ชาวพุระกำให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากการสนับสนุนต้นพันธุ์ไม้ยืนต้นจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF-SGP) ทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกไม้เศรษฐกิจมากขึ้น ทว่าแม้ทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้จะอนุญาตให้ปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ได้ แต่ชาวบ้านก็ยังเลือกปลูกไว้ริมขอบเขตของที่ดิน เพราะกลัวปัญหาความไม่แน่นอนในข้อกฎหมายในอนาคต กล่าวคือ ชาวบ้านกลัวว่าเมื่อปลูกไปแล้วตัดไม่ได้ และอาจโดนยึดที่ดินไปเป็นป่าของรัฐอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต 

CHS07292.jpg
CHS07322.jpg
CHS07327.jpg
CHS07399.jpg
CHS06253.jpg
CHS07789.jpg

ในด้านการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งป่าและลำน้ำ ชาวบ้านพุระกำและเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทั้งการสำรวจแนวเขต การเก็บข้อมูล การจัดการไฟป่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้บางคนก็เป็นลูกหลานชาวพุระกำ การดำเนินงานร่วมกันจึงไม่มีปัญหามากนัก  อีกทั้งทั้งสองฝ่ายเห็นว่า “คนกับป่า” อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัวแล้ว

 

พื้นที่ป่ารอบชุมชนพุระกำนั้นมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ "นี่รอยเลียงผา มันมากินน้ำตรงนี้" เจ้าหน้าที่และชาวบ้านชี้ร่องรอยของกีบเท้าที่สไลด์ลงตามแนวภูเขาที่ลาดชันให้ดู ใกล้กันเป็นแอ่งน้ำซับที่สัตว์ป่าหลากหลายชนิดจะลงมากินน้ำในฤดูแล้ง

งบประมาณที่ได้มาส่วนหนึ่งจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF-SGP) ถูกนำมาซื้อกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าหรือ คาเมรา แทรบ เพื่อสำรวจและจัดเก็บข้อมูลสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่รอบชุมชน เพื่อชี้ให้เห็นว่าพื้นที่รอบชุมชนยังมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ ไม่ได้ถูกคุกคามจากวิถีชีวิตของชาวบ้าน "เขามาดูพื้นที่แล้วก็บอกว่าแถวนี้ไม่มีสัตว์ป่าหรอก ชาวบ้านจับกินหมดแล้ว เราจึงอยากพิสูจน์ว่าที่นี่ยังมีสัตว์ป่าอยู่รอบชุมชนด้วยการติดกล้องดักถ่าย" เปเล่ กั่วพู่

ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ยังช่วยกันฟื้นฟูและสร้างแหล่งน้ำแหล่งอาหารให้สัตว์ป่าด้วย โดยร่วมกันทำโป่งเทียมให้สัตว์ป่าได้กินเกลือแร่ ซึ่งเป็นการลดปัญหาสัตว์ป่าลงไปหากินในที่ทำกินของชาวบ้าน ช่วยลดการเผชิญหน้าระหว่างคนกับสัตว์ป่า

ชาวบ้านยังร่วมกันทำแนวกันไฟระยะทางหลายกิโลเมตรร่วมกับเจ้าหน้าที่ด้วย ทั้งนี้ปัญหาไฟป่าส่วนใหญ่จะมาจากนอกพื้นที่ชุมชน หรือเป็นไฟป่าจากชายแดนฝั่งพม่า ไฟป่าที่เกิดจากชุมชนนั้นเกิดขึ้นน้อยมาก และชาวบ้านก็สามารถช่วยกันจัดการได้เป็นอย่างดี

"เขามาดูพื้นที่แล้วก็บอกว่าแถวนี้ไม่มีสัตว์ป่าหรอก ชาวบ้านจับกินหมดแล้ว เราจึงอยากพิสูจน์ว่าที่นี่ยังมีสัตว์ป่าอยู่รอบชุมชนด้วยการติดกล้องดักถ่าย" เปเล่ กั่วพู่

CHS07620.jpg
CHS07658.jpg
CHS07750.jpg
CHS07714.jpg
CHS07769.jpg

ภาพจากกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าพบว่ามีเลียงผาซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนเข้ามากินเกลือในโป่งเทียมที่ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ทำไว้รอบนอกชุมชน ทั้งนี้ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่กล้องสามารถถ่ายไว้ได้

CHS07076.jpg

ในด้านการจัดการไฟป่านั้น ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนเครื่องเป่าลม เพื่อใช้ทำแนวกันไฟป่า มีทีมงานอาสาสมัครทำแนวกันไฟระยะทางหลายกิโลเมตร ทั้งนี้ปัญหาไฟป่าส่วนใหญ่จะมาจากนอกพื้นที่ชุมชน หรือเป็นไฟป่าจากชายแดนฝั่งพม่า ไฟป่าที่เกิดจากชุมชนนั้นเกิดขึ้นน้อยมาก และชาวบ้านก็สามารถช่วยกันจัดการได้เป็นอย่างดี

CHS07138.jpg

การสร้างพื้นที่ให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อาจจะถูกทำลายไปด้วยโครงการที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องผลกระทบต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศในระดับภูมินิเวศ (Landscape) ของกลุ่มป่าแก่งกระจาน

CHS08470.jpg
CHS07441.jpg

วิถีชีวิตของชาวบ้านพุระกำที่เคยถูกอพยพโยกย้ายจากถิ่นฐานเดิมสู่การปรับเปลี่ยนตามแนวทางอนุรักษ์ป่ากำลังลงตัวในทุกมิติ สร้างทั้งความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางอาหาร ลดการใช้ทรัพยากรจากป่า ลดความกดดันระบบนิเวศบริการ อีกทั้งยังฟื้นฟูระบบนิเวศบริการในกลุ่มป่าแก่งกระจานได้เป็นอย่างดี แต่ตอนนี้กำลังถูกท้าทายด้วยโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำหนองตาดั้งจากภาครัฐ ซึ่งจะส่งผล

กระทบอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทำกินอันอุดมสมบูรณ์และพื้นที่ป่าอนุรักษ์หลายพันไร่ ชีวิตของชาวบ้านพุระกำจะต้องโยกย้ายถิ่นฐานไปอีกกี่ครั้ง กว่าจะได้ใช้ชีวิตที่ลงตัวอย่างทุกวันนี้ หรืออาจจะไม่มีวันนั้นเลยก็ได้ในชั่วชีวิตของคนรุ่นนี้ การสร้างพื้นที่ให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อาจจะถูกทำลายไปด้วยโครงการที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องผลกระทบต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศในระดับ

ภูมินิเวศ(Landscape)ของกลุ่มป่าแก่งกระจาน 

CHS07254.jpg

"ถ้ารัฐใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม เราคงเลือกกลับเข้าป่าไปอยู่ที่ใจแผ่นดิน แผ่นดินที่บรรพบุรุษของเราเคยอยู่จะดีกว่าต้องถูกบังคับไปอยู่ที่จัดสรรใหม่ ซึ่งไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนที่พุระกำ" เปเล่ กั่วพู่ 

bottom of page