Case Studies
"บ้านบางลา" ต้นแบบการจัดการป่าชายเลนอย่างยั่งยืน
กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลา: วิธีการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในท้องถิ่นเพื่อผู้คนและธรรมชาติ
Scroll Down
ชุดกรณีศึกษาจาก EQUATOR INITIATIVE
โดย UNDP (สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ)
ชุมชนท้องถิ่นและชุมชนพื้นเมืองทั่วโลกกำลังพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่แปลกใหม่ และมีประสิทธิผลสำหรับทั้งคนและธรรมชาติ มีบทความตีพิมพ์ หรือกรณีศึกษาเพียงไม่กี่ฉบับเท่านั้นที่บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดว่า ความคิดริเริ่มต่าง ๆ เหล่านั้นมีวิวัฒนาการ หรือความเป็นมาอย่างไร มีผลกระทบในวงกว้างมากแค่ไหน หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรตามเวลา มีเรื่องราวเหล่านี้น้อยนักที่ถูกเล่า และถ่ายทอดในทิศทางที่ผู้ปฏิบัติงานในชุมชนเองต้องการ ด้วยเหตุนี้โครงการ Equator Initiative จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะเติมเต็มช่องว่างนั้น
องค์กร Equator Initiative ด้วยการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก Norwegian Agency for Development Cooperation หรือ NORAD (สำานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสวีเดน) และ German Federal Ministry for Economic Cooperation and Development หรือ BMZ (กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) ได้มอบรางวัล Equator Prize 2017 ให้กับโครงการของชุมชนท้องถิ่นและชุมชนพื้นเมืองที่โดดเด่น 15 โครงการ จาก 12 ประเทศ ผู้รับรางวัลได้รับการยอมรับสำหรับผลงานที่ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาโดยอิงสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระบบนิเวศทางทะเล ป่าไม้ ทุ่งหญ้า พื้นที่แห้งแล้ง และพื้นที่ชุ่มน้ำผู้รับรางวัลที่ผ่านการคัดเลือกจากจำานวนโครงการที่ได้รับการเสนอชื่อกว่า 806 โครงการ จาก 120 ประเทศ ได้รับเชิญ เข้าร่วมงานเลี้ยงฉลองในนครนิวยอร์ก ในช่วงสัปดาห์เป้าหมายโลก (Global Goals Week) และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 72 (The 72nd Session of the UN General Assembly) ที่เน้นย้ำเป็นพิเศษเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาโดยอิงธรรมชาติที่สามารถยกระดับได้ เพื่อแก้ปัญหาการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิในที่ดิน และความมั่นคงทางด้านอาหารและน้ำ เพื่อลดความยากจน ปกป้องธรรมชาติ และส่งเสริมความเข้มแข็ง
กรณีศึกษาต่อไปนี้เป็นหนึ่งในชุดกรณีศึกษาที่กำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอธิบายวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและได้รับการตรวจสอบและทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเสวนาเชิงนโยบาย และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยอิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญอันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)
ความเป็นมาและบริบท
ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ ด้วยมีสัตว์ป่าและพืชประจำถิ่นกว่า 200 สายพันธุ์ เช่น หอยกะพง (Arcuatula senhousia) หอยจุ๊บแจงยอดทู่ (Cerithidea obtusa) ปูม้า (Portunus pelagicus) และกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ปกคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 36 ของชายฝั่ง ป่าเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นกำแพงกันคลื่นตามธรรมชาติ และมีส่วนช่วยในการปรับตัวและฟื้นตัวของชุมชนหลังภัยพิบัติ การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยภิบัติทางธรรมชาติ และการปรับตัวเข้ากับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ-อากาศ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่สำคัญเมื่อคำานึงถึงการที่ประเทศไทยติด 1 ใน 10 อันดับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด อ้างอิงจากรายงาน Climate Risk Index 2019 (รายงานดัชนีความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2562)
นอกจากนี้ป่าชายเลนยังเป็นสถานที่เลี้ยงและที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรทางธรรมชาติสำหรับคนไทยที่ได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้ อย่างไรก็ตามป่าชายเลนได้ถูกคุกคามโดยการตัดไม้ที่ผิดกฎหมาย การทำนากุ้ง การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และโรงงานอุตสาหกรรม
ในระหว่างปี พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2536 พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยลดลงถึงเกือบครึ่งหนึ่ง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการรุกล้ำขนาดใหญ่ของบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าเพื่อการทำนากุ้ง อัตราการทำลายป่าชายเลนในประเทศไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญในระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึงปี พ.ศ. 2555 อันเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก และป่าชายเลนที่เหลืออยู่นั้นยังคง
ต้องการการปกป้อง เพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบในภายภาคหน้า
จังหวัดภูเก็ตมีที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยและโอบล้อมด้วยทะเลอันดามัน และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เสาหลักทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตมีสองประการ คือ การทำสวนยางพารา ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางที่ใหญ่ที่สุดในโลก และการท่องเที่ยวที่มีอุตสาหกรรมการดำน้ำที่เฟื่องฟูและดึงดูดผู้คนนับพันในแต่ละปี
ตั้งแต่เหตุการณ์สึนามิในปี พ.ศ. 2547 อาคารและสถานที่ท่องเที่ยวที่เสียหายทั้งหมดได้รับการซ่อมแซม และภูเก็ตได้เผชิญกับช่วงเวลาของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับการท่องเที่ยวอย่าง
เข้มข้น ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ภูเก็ตได้รับการโหวตให้ติดอันดับหนึ่งในห้าจุดหมายปลายทางสำหรับการเกษียณอายุของโลกโดยนิตยสารฟอร์จูน (Fortune Magazine) การสำรวจสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2553 พบว่ามีผู้คนอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ตมากกว่า 520,000 คน ซึ่งมีชาวต่างชาติ 115,881 คน คิดเป็นร้อยละ 21.1 ของประชากรทั้งหมด จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มขึ้น จากประมาณ 3 ล้านคนในปี พ.ศ. 2546 เป็นเกือบ 13 ล้านคนในปี พ.ศ.2556 การไหลทะลักเข้ามาของนักท่องเที่ยวนี้ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมของภูเก็ตเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นจุดสำคัญของความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างชาวประมงขนาดเล็ก และธุรกิจการประมงเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่น และนักลงทุนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเชิงพาณิชย์ การท่องเที่ยว และโครงการพัฒนาอื่นๆ เหตุการณ์สึนามิในปี พ.ศ. 2547 ได้ก่อให้เกิดความสนใจ การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตและการจัดการสิ่งแวดล้อมในแนวทางที่เน้นการบูรณาการมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน
บ้านบางลาเป็นชุมชนชาวประมงขนาดเล็ก บนชายฝั่งทางตะวันออกของเกาะภูเก็ต ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางตะวันออกประมาณ 20 กิโลเมตร ชาวบ้าน 139 ครอบครัวในชุมชนหาเลี้ยงชีพด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมงชายฝั่ง และการทำาสวนยางพาราขนาดเล็ก
ในปี พ.ศ. 2535 ชุมชนบ้านบางลาได้เล็งเห็นภัยคุกคามต่อป่าชายเลนจากนักลงทุนที่สนใจการพัฒนาที่ดินเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงได้จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลาขึ้น เพื่อตอบโต้และเป็นเครื่องมือปกป้องป่าชายเลน การก่อตั้งกลุ่มนี้ทำให้พวกเขาสามารถตั้งตัวเองเป็นผู้ดูแลป่าชายเลน และรับหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืนในฐานะป่าชุมชนต้นแบบ
ในช่วงเหตุการณ์สึนามิปี พ.ศ. 2547 ป่าชายเลนได้ปกป้องหมู่บ้านจากคลื่นที่ทำลายชายฝั่งทะเลไทย แสดงให้เห็นถึงพลังของระบบนิเวศทางธรรมชาติแห่งนี้ในการปกป้องชุมชนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัจจุบันป่าชายเลนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,200 ไร่ ของชายฝั่งบ้านบางลา โดยสายพันธุ์ต้นโกงกางที่โดดเด่นที่สุด คือ พังกาหัวสุมดอกแดง (Bruguiera gymnorhiza) และพังกาหัวสุมดอกขาว (Bruguiera sexangula) พื้นที่ป่าชายเลนขนาดใหญ่ถูกปกคลุมไปด้วยหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และที่อยู่อาศัยของกุ้ง ปูเขียว หรือปูทองโหลง (Scylla serrata) และหอยหวาน (Babylonia areolata) รวมถึงเป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์ เช่น พะยูน (Dugong dugon) ความพยายามในการอนุรักษ์นี้ส่งผลให้นากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinereus) และโลมาหลังโหนก (Sousa chinensis) ซึ่งอยู่ในข่ายเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ตามรายการ IUCN Red List กลับมาอาศัยในพื้นที่อีกครั้ง หลังจากหายไปกว่า 30 ปี
ชุมชนบ้านบางลาประกอบด้วย 3 ชุมชนย่อย ได้แก่ บ้านบางลา บ้านบางกา และบ้านนายาว โดยมีจำนวนประชากรทั้งหมด 3,908 คน เป็นชาย 1,344 คน และหญิง 2,564 คน ประชากรประมาณร้อยละ 75 เป็นชาวมุสลิม ในขณะที่อีกร้อยละ 24 นับถือศาสนาพุทธ
ณ ปัจจุบันมีประชากรชาย 240 คน และประชากรหญิง 250 คนถือสิทธิการครอบครองที่ดิน ในขณะที่มีประชากรชาย 130 คน และหญิง 120 คนถือสิทธิในการทำประมง ผู้ชายมักจะทำประมงในคลอง ป่าชายเลน หรือตามแนวชายฝั่งทะเลโดยใช้เรือ และอุปกรณ์ตกปลาอื่น ๆ เพื่อจับปู ปลา และกุ้ง ส่วนผู้หญิงมักจะเดินในป่าชายเลนและคลองเพื่อเก็บหอยกาบ หอยแมลงภู่ และปูโคลน ด้วยอุปกรณ์ตกปลาอย่างง่าย เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของอาหารทะเล บริเวณนี้จึงเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่าเป็น 'ซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารทะเล'
ต้นกำเนิดและโครงสร้าง
กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 หลังจากเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย สึนามินี้เป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยบันทึกไว้ มีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คนใน 14 ประเทศ อย่างไรก็ตามป่าชายเลนในชุมชนบ้านบางลาที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ได้ช่วยปกป้องหมู่บ้านจากภัยพิบัติในครั้งนั้น นับตั้งแต่นั้นมากลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้ส่งเสริมการคุ้มครองและฟื้นฟูป่าชายเลนผ่านการเสวนาภายในชุมชน การจัดการร่วมกัน และโครงการด้านการศึกษาป่าชายเลนชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลนคลองท่าเรือ ได้รับการจัดการร่วมกันกับหน่วยงานท้องถิ่นของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการอนุรักษ์ป่าชายเลนเจ็ดแห่งในประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคจากองค์กรเอกชนในท้องถิ่น คือ โครงการความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนประมงชายฝั่ง อ่าวพังงา
เป้าหมายของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางลา ได้แก่
-
เพื่อฟื้นฟู สังเกตการณ์ และจัดการการใช้ที่ดินเพื่อผลประโยชน์ที่เท่าเทียมและยั่งยืนสำหรับทุกคน
-
เพื่อเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการจัดการป่าชายเลนโดยชุมชน
-
เพื่อจัดตั้งกองทุนชุมชน
-
เพื่อสนับสนุนกลุ่มเด็กและสตรีให้มีบทบาทสำาคัญในการจัดการป่าชายเลนของชุมชน
กลุ่มอนุรักษ์ฯ กำลังดำเนินงานในโครงการดังต่อไปนี้
-
กลุ่มเด็กชายเลรักษ์ป่าชายเลน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการปกป้องป่าชายเลนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมสร้างศักยภาพ
-
การส่งเสริมความสามารถของสตรีเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารในพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการจัดการป่าชายเลนชุมชน
-
การฟื้นฟูอาหารพื้นบ้านโดยใช้ทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และใช้ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างยั่งยืน
-
การสร้างป่าชายเลนเพื่อนากเล็กเล็บสั้นที่เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องและฟื้นฟูป่าชายเลนและระบบนิเวศเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของนากที่เป็นสัตว์ประจำาถิ่น
-
การสร้างเครือข่ายชุมชนพื่อการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน และทรัพยากรชายฝั่งอื่นๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและคุ้มครอง ป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่งในอ่าวพังงา โดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนจากทุกภาคส่วน
-
โครงการ Climate Justice by Your Hands (โครงการปกป้องสภาพอากาศด้วยมือเรา) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการอนุรักษ์ป่าชายเลนในฐานะที่เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน
กลุ่มอนุรักษ์ฯ อาศัยการจัดการที่ทับซ้อนกัน เพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกชุมชนได้รับการดูแลผลประโยชน์ในการบริหารและการตัดสินใจ:
-
ทีมที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำาบลป่าคลอก องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โครงการความมั่นคงทางด้านอาหารชุมชนประมงชายฝั่งอ่าวพังงา ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าองค์การบริหารส่วนตำาบลและสำนักงานจัดการป่าชายเลน ที่ปรึกษาเหล่านี้ได้รับการคาดหวัง ให้แบ่งปันคำาแนะนำและสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน
-
คณะกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการ รองกรรมการ เลขานุการ และเหรัญญิก คณะกรรมการ มีสมาชิกทั้งหมด 18 คนโดยทุกคนล้วนเป็นผู้หญิงที่มีหน้าที่รับผิดชอบการสนับสนุนกิจกรรมขององค์กร
-
เครือข่ายสมาชิก ซึ่งรวมถึงผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนทั้งหมดที่กลายเป็นสมาชิกของกลุ่มไปโดยอัตโนมัติตามข้อตกลง
-
เครือข่ายชุมชน ซึ่งประกอบด้วย 11 ชุมชน ชุมชนบางลาเป็นสมาชิกเครือข่ายชุมชนในอ่าวพังงา ซึ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้าน การจัดการป่าชายเลนในระดับท้องถิ่นและระดับนโยบาย
นอกเหนือจากการประชุมสามัญที่ต้องจัดเป็นประจำทุกปีแล้ว ยังมีการประชุมกลุ่มย่อยอย่างสม่ำเสมอ การประชุมยังจัดขึ้นบ่อยครั้งโดยคณะกรรมการจัดการโดยไม่มีพนักงานประจำ และคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ
กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลาได้จัดทำแผนพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมใน 3 ด้าน คือ วิถีชีวิตทางเลือกผ่านธุรกิจชุมชน ความมั่นคงทางการเงินผ่านแผนการออมและสวัสดิการ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
การรุกล้ำพื้นที่ป่าชายเลน
เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในจังหวัดภูเก็ต ชุมชนบ้านบางลาได้ต่อสู้เพื่อปกป้องป่าชายเลนที่เหลืออยู่ 1,200 ไร่จากการรุกล้ำที่ดิน ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา การทำลายป่าชายเลนและการยึดครองที่ดินสาธารณะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากการใช้ถ่านหินในปริมาณที่มากเกินไป การทำนากุ้ง การขยายตัวของเมือง การขยายตัวของอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือและถนน และการทำาการเกษตร
ในยุคการทำาเหมืองแร่ดีบุกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่ทำฟาร์มและการประมง ในขณะที่บางส่วนทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในชุมชนใกล้เคียง เพื่อหารายได้สำหรับซื้อสินค้าที่ไม่ได้ผลิตในชุมชนของตนเอง ในระหว่างปี พ.ศ. 2500 และ พ.ศ. 2530 การท่องเที่ยวและการปลูกยางพาราที่ไม่ใช่พืชท้องถิ่นกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการรุกล้ำที่ดิน สมาชิกชุมชนบ้านบางลาจึงเริ่มอ้างสิทธิ์ในที่ดินชุมชนเพื่อปลูกยางพาราและสับปะรด หรือเพื่อนำที่ดินไปขายให้กับนักลงทุนจากตัวเมืองภูเก็ต ซึ่งสุดท้ายแล้วได้ครอบครองที่ดินของชุมชนเกือบครึ่ง
เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว ประเทศไทยเริ่มมีการทำาฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบมุ่งเน้นเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งไม่ได้รับการควบคุมจนกระทั่งปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นเหตุของอีกหนึ่งภัยคุกคามร้ายแรงต่อระบบนิเวศป่าชายเลน เนื่องจากการสนับสนุนจากรัฐบาล การเลี้ยงกุ้งกุลาดำาจึงกลายเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศมีชื่ออยู่ในรายการผู้ผลิตกุ้งกุลาดำรายใหญ่ที่สุดของโลก ในปี พ.ศ. 2530 ป่าชายเลนต้องเผชิญกับภัยคุกคามอีกประการหนึ่งคือ การบุกรุกเพื่อสร้างท่าเรือยอชต์ ตัวอย่างหนึ่งคือการก่อสร้างท่าจอดเรือห่างออกไปเพียงไม่กี่กิโลเมตรทางทิศใต้ของบ้านบางลา ซึ่งเป็นการอนุญาตให้ก่อสร้างที่ทำให้เกิดการโต้เถียงในวงกว้าง ความพยายามอย่างต่อเนื่องของชาวบ้านและนักอนุรักษ์ที่จะอนุรักษ์ป่าชายเลนและแนวปะการังทำให้เจ้าหน้าที่ได้ทบทวนการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับโครงการท่าจอดเรือนี้ใหม่อีกครั้ง อีกหนึ่งความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมาคือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับชนชั้นกลางในเมืองเข้าสู่หมู่บ้านบางลา ซึ่งทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการขยายตัวนี้ต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
ภัยคุกคามต่อป่าชายเลนเหล่านี้ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในชุมชนบ้านบางลานั้น ย่ำแย่ลงกว่าเดิม เนื่องจากช่องว่างทางกฎหมาย ความกำกวมของกฎหมาย และกฎหมายที่ล้าสมัยเกี่ยวกับการปฏิรูปและ ใช้ที่ดิน รัฐบาลยอมรับการใช้ที่ดินในหลายรูปแบบ รวมถึงการออกใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (สค.1) หนังสือรับรองการทำาประโยชน์ (นส.3ก.) และกรรมสิทธิ์ที่ดิน (โฉนด หรือ สปก.4-01) การรุกล้ำที่ดินมักจะได้รับการรับรองผ่าน 2 วิธีหลัก คือ ผ่านใบแจ้งการครอบครองที่ดิน และผ่านหนัง สือรับรองการทำประโยชน์ (นส.3ก.) การใช้ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน ซึ่งได้รับการระบุว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การตัดไม้ทำาลายป่า มักเกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิ์เพิ่มเติม หรือการอ้างสิทธิ์เท็จในการเป็นเจ้าของที่ดิน และการยึดครองที่ดินหรือป่าไม้ของรัฐ นักลงทุนมักจะซื้อหนังสือสำาหรับที่ดินอื่น และต่อมาจึงใช้เป็นหลักฐานในการออกโฉนดที่ดินบริเวณป่าชายเลนของรัฐ หรือใช้เพื่อขยายที่ดินจาก 2 ไร่ เป็น 22 ไร่ สค.1 นี้ จึงมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของนักลงทุน เนื่องจากมีช่องโหว่ทางกฎหมายที่สามารถใ ช้ สค. 1 หาประโยชน์ได้ เจ้าของที่ดิน (ที่ถือครองโฉนด) ในบ้านบางลาประมาณร้อยละ 70 เป็นนักลงทุนจากตัวเมืองภูเก็ตและกลุ่มคนจากกรุงเทพฯ จำนวนพื้นที่โดยเฉลี่ยที่ถือครองโดยสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่ (300 ครัวเรือน) อยู่ที่หนึ่งไร่ต่อครัวเรือน และมีเพียงสามครัวเรือนเท่านั้นที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมากกว่า 10 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนได้รับการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือ นส.3ก. พื้นที่ป่าชายเลนรวมทั้งหมดที่ชุมชนจัดการคือ 1,200 ไร่
การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ
การมีแนวชายฝั่งที่ทอดยาว ความเสี่ยงต่อเหตุการณ์สภาวะอากาศที่รุนแรง และระบบเกษตรกรรมที่เปราะบาง ทำให้ชุมชนชายฝั่งทะเลในภาคใต้ของ ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด มีพายุหมุนเขตร้อน พายุไซโคลน อุทกภัย และการกัดเซาะชายฝั่งเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้น นำไปสู่การสูญเสียชีวิตและความเสียหายต่อความเป็นอยู่ ทรัพย์สิน และโครงสร้างพื้นฐานที่มากขึ้น ภูเก็ตมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน โดยมีฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน และมีฤดูแล้งตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน แม้ว่าจะมีฝนตกบ่อยครั้งในช่วงฤดูแล้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทั้งประเทศก็ยังคงเผชิญกับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นและภาวะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
อ้างอิงจาก Climate Risk Index 2019 (ดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอา กาศปี พ.ศ. 2562) เมื่อเทียบกับข้อมูลจากปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับ
ผลกระทบมากที่สุดจากเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศที่รุนแรง รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปในภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งขังตัวอยู่ได้นานในฤดูแล้ง ทำให้เกิดน้ำท่วมหลายครั้งตลอดทั้งปี คร่าชีวิตคนอย่างน้อย 18 ชีวิต และไหลเข้าท่วมพื้นที่ของหลายพันหมู่บ้าน
การตอบสนองของคนในพื้นที่
การสนับสนุนสิทธิในที่ดิน
เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลางในเมืองเข้าสู่ที่ดินสาธารณะของชุมชนบ้านบางลาและอีกสองหมู่บ้านข้างเคียง คือ บ้านผักฉีดและบ้านยามู ชาวบ้านได้รวมตัวกันปิดถนนในปี พ.ศ. 2536 เพื่อสนับสนุนการถือกรรมสิทธิ์พื้นที่ป่าโดยชุมชน และเพื่อดึงดูดความสนใจไปยังสถานการณ์ในขณะนั้น การประท้วงจึงได้เกิดขึ้นอย่างมีกลยุทธ์ในวันที่อดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ เข้าเยี่ยมพื้นที่เพื่อแจกจ่ายโฉนดที่ดินหรือสปก.4-01 ให้กับเกษตรกรที่ร่ำรวย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปฏิรูปที่ดินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่เกษตรกรที่ยากจน เรื่องนี้ภายหลังกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวการทุจริต สปก.4-01 ชุมชนจึงได้ร้องเรียนต่อรัฐมนตรีเพื่อคัดค้านการยึดครองพื้นที่สาธารณะโดยนักลงทุน
ชุมชนบ้านบางลาได้ประกาศตัวเป็นองค์กรที่อุทิศตนเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาการยึดครองที่ดินและการบุกรุก ผู้อาศัยในหมู่บ้านทำางานร่วมกันเพื่อรักษาสิทธิ์ในที่ดินของตนจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจัดตั้งป่าชายเลนชุมชนบางลา ในขณะเดียวกันความพยายามในการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งส่งผลให้ชุมชนได้รับความร่วมมือจากสถาบันของรัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มประชาสังคมในท้องถิ่น วันนี้ความพยายามในการอนุรักษ์ขององค์กรได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด รวมถึงกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และโรงเรียนในท้องถิ่น
การจัดการชุมชนป่าชายเลน
อ้างอิงจากบันทึกความเข้าใจ ชุมชนบ้านบางลาจะดำเนินการตามสมควรเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ผู้อยู่อาศัยในท้องที่จึงได้กำหนดกฎหมายและข้อบังคับขึ้นมาเพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และได้แบ่งเขตพื้นที่ป่าชายเลนเป็นเขตเพื่อการสาธารณูปโภคชุมชน เขตการอนุรักษ์เข้มข้น และเขตปลูกป่าทดแทน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนในขณะที่ยังรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมได้
สมาชิกขององค์กรสร้างแผนการจัดการและแผนการฟื้นฟู และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องป่าชายเลน เช่น หากชาวบ้านตัดต้นไม้หนึ่งต้นในเขตเพื่อการสาธารณูปโภคชุมชน พวกเขาจะต้องปลูกต้นไม้ใหม่เป็นจำานวนห้าต้นทดแทน
ในการสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนบ้านบางลาได้ใช้กลยุทธ์ที่แปลกใหม่ โดยการเลือกสิ่งมีชีวิตที่สำคัญเพื่อเป็นจุดสนใจ ผู้อยู่อาศัยในชุมชนได้เลือกที่จะให้ความสำาคัญกับนากเล็กเล็บสั้น และสามารถนำมันกลับมาในที่พื้นที่ได้สำาเร็จหลังจากหายไปจากพื้นที่ถึง 30 ปี นากเหล่านี้สามารถเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพให้กับความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จของโครงการอนุรักษ์และจัดการป่าชายเลน นอกจากนี้ เรื่องราวของนากเหล่านี้ยังส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นและชุมชนอื่น ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เช่น การปลูกต้นไม้ทดแทน และการเพาะพันธุ์ปูป่าชายเลน
ชุมชนบ้านบางลาได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้น คือ กลุ่มเด็กชายเลรักษ์ป่าชายเลน เพื่อส่งต่อความพยายามปกป้องป่าชายเลนไปสู่เยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป เมื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้นแล้ว ได้มีการจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลน 2 ไร่ เพื่อสร้างศูนย์ การเรียนรู้ที่จัดการโดยเยาวชน ผู้รับหน้าที่ออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าชายเลน ยกตัวอย่างเช่น การปล่อยสัตว์น้ำลงสู่ทะเล และการส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชายเลนผ่านวัฒนธรรมดั้งเดิมและสมัยใหม่ เช่น การเต้นระบำฮูลู ซึ่งเป็นระบำดั้งเดิมของไทย และการแสดงแฟชั่น
ชุมชนชายฝั่งยังได้ตั้งเป้าหมายในการสร้างความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนสภาพเป็นเมืองอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางแผน ตัวอย่างหนึ่งคือโครงการ Climate Justice by Your Hands โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุน Global Environment Facility’s Small Grants Programme หรือ GEF SGP (แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กของชุมชน กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก) ที่ดำเนินงานโดย UNDP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องป่าชายเลนขนาด 1200 ไร่ จากการรุกล้ำที่ดิน และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในชุมชน
การพัฒนาความเป็นอยู่
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาความเป็นอยู่ เพื่อคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตดั้งเดิมและรักษาที่ดินของชุมชน ในปี พ.ศ. 2535 ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านบางลาได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนบ้านบางลา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการออมในระดับจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยกลุ่มออมทรัพย์มุ่งเน้น :
1) วิถีชีวิตทางเลือกผ่านธุรกิจชุมชน
2) ความมั่นคงทางการเงินผ่านแผนการออมและสวัสดิการ
3) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนคิดดอกเบี้ยร้อยละสองต่อเดือนสำาหรับสินเชื่อทุกประเภท (ระยะสั้นและระยะยาว ขนาดเล็กและขนาดใหญ่) ส่วนกำไรแบ่งออกเป็น ดังนี้ : 1) ร้อยละ 30 จ่ายให้กับสมาชิกเป็นเงินปันผล 2) ร้อยละ 5 จ่ายให้กับสมาชิกคณะกรรมการ 3) ร้อยละ 10 จัดสรรให้กับกองทุนบริหารกลุ่ม 4) ร้อยละ 30 ใช้เพื่อสนับสนุนกองทุนธุรกิจชุมชน 5) ร้อยละ 20 จัดสรรไว้สำาหรับกองทุนที่ดินชุมชนและโครงสร้างพื้นฐาน และ 5) ร้อยละ 5 จัดสรรให้กับกองทุนเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
สำนักงานของกลุ่มออมทรัพย์มีจุดประสงค์หลายประการซึ่งรวมถึงการเป็นศูนย์สำหรับการสนับสนุนแบบ peer-to-peer (บุคคลต่อบุคคล) เนื่องจากศูนย์นี้ตั้งอยู่บนที่ดินสาธารณะผืนสุดท้ายของชุมชน ศูนย์จึงอนุญาตให้กลุ่มแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน ด้วยเหตุนี้ชุมชนจึงทำการปรับปรุงอาคารซึ่งจะช่วยให้สมาชิกในกลุ่มสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์การพัฒนาระยะยาวได้ ปัจจุบันความคิดริเริ่มนี้ได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคจากโครงการความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชนประมงชายฝั่งอ่าวพังงา ซึ่งช่วยให้ชุมชนและสตรีสามารถยกระดับพลังรากหญ้าของภาคประชาสังคมได้
นอกเหนือจากการจัดการและอนุรักษ์ป่าชายเลนแล้ว เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับชุมชน ชุมชนชายฝั่งบ้านบางลายังได้ริเริ่มกิจกรรมเพื่อการดำารงชีวิตที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การทำเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำาและเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ และแก๊สชีวภาพ นอกจากนี้กลุ่มปูและประมงพื้นบ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้ไม่นาน ได้สร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับผู้อยู่อาศัยบางส่วนที่ขายสินค้าในตลาดค้าปลาและปูในพื้นที่ใกล้เคียง
การสร้างความตระหนักและการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
สมาชิกชุมชนที่มีอายุต่างกันมีบทบาทที่แตกต่างกันในโครงการริเริ่มนี้ ผู้หญิงและเยาวชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมการศึกษา และใช้การเล่าเรื่องเพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าชายเลนและให้ความรู้เกี่ยวกับบริการของระบบนิเวศชายฝั่ง กลุ่มเยาวชนมีบทบาทสำาคัญในการปกป้องป่าชายเลนของชุมชน คนหนุ่มสาวทำหน้าที่เป็นไกด์ในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่าชายเลน อีกทั้งกำาหนดพื้นที่การเรียนรู้ในป่าชายเลนและเขตพื้นที่ปลูกป่าทดแทน ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนบางแห่งจึงได้นำาเอาการจัดการป่าชายเลนเข้าไปไว้ในหลักสูตรของโรงเรียน
นอกจากนี้ กลุ่มสตรีบ้านบางลาได้จัดทำโครงการสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงทางด้านอาหารและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมอาหารท้องถิ่นที่สามารถหาวัตถุดิบได้จากป่าชายเลนและทะเล กลุ่มสตรีใช้ประโยชน์จากงานภายในชุมชนเพื่อแสดงวิธีการเตรียมอาหารจากป่าชายเลนในท้องถิ่น นอกจากนี้ กลุ่มสตรียังสำรวจแหล่งอาหารของชุมชน เช่น ป่าชายเลน ป่าหญ้าทะเล แนวปะการัง และเกาะหอยนางรม เพื่อบันทึกและเผยแพร่สูตรอาหารท้องถิ่น ในทุกปีกลุ่มสตรีจะแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับวิธีเตรียม อาหารท้องถิ่นให้กับคนหนุ่มสาวในช่วงค่ายเยาวชนเครือข่ายเด็กชายเลรักษ์ป่าชายเลน ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ป่าชายเลนอ่าวพังงา กลุ่มสตรีใช้ผลจากการสำารวจเพื่อสอนเยาวชนเกี่ยวกับการเตรียมอาหารและวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น โครงการรณรงค์เหล่านี้ได้พิสูจน์แล้วว่า สามารถนำไปสู่การฟื้นฟูความรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับอาหารป่าชายเลนในหมู่สตรีและเยาวชน
ผลกระทบเชิงนโยบาย
ผลกระทบต่อนโยบายของชาติ
กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลาได้รับการยอมรับในระดับชาติหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2544 กลุ่มอนุรักษ์ฯได้กลายเป็นอาสาสมัครชุมชนพิทักษ์ป่าชายเลน และได้รับมอบธงอนุรักษ์ป่าและเงินทุน 200,000 บาท จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ เพื่อยกย่องกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าของกลุ่ม การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ที่ดินสาธารณะช่วยกระตุ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตอบรับความต้องการในการแก้ปัญหาการบุกรุกป่าชายเลน และการจัดตั้งกลไกการบริหารและกลไกทางกฎหมายเพื่อยับยั้งผู้บุกรุกใหม่
ในปี พ.ศ. 2551 ชุมชนบ้านบางลาได้รับรางวัลจากสถาบันลูกโลกสีเขียว การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) นอกจากนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (DMCR) ยังยอมรับป่าชายเลนของชุมชนบ้านบางลาเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อการวิจัยและการศึกษา ทำให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบศูนย์การเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญ การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ป่าชายเลน
นโยบายที่สนับสนุนการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลนในประเทศไทยมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เรื่องราวของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลาไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงแรงขับเคลื่อนและความรับผิดชอบของสมาชิกต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการก่อตั้งและสร้างความเข้มแข็งให้กับการจัดการป่าชายเลนโดยชุมชน โดยเฉพาะตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามันในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นตัวอย่างของวิธีการที่ชุมชนบ้านบางลาและชุมชนอื่น ๆ ได้ช่วยกำาหนดนโยบายของประเทศไ ทยในปัจจุบัน กฎหมายนี้ทำให้มั่นใจว่าจะเกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชน รัฐบาลท้องถิ่น และกลุ่มอื่น ๆ เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลน เป็นผลให้การจัดตั้งเวทีความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงป่าชายเลนได้รับการสนับสนุนอย่างถูกกฎหมายทั่วประเทศในปัจจุบัน
การมีส่วนร่วมในวาระระดับโลก
ความพยายามของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลามีส่วนช่วยให้บรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หลายประการ ได้แก่ ขจัดความยากจน (เป้าหมายที่ 1) ขจัดความหิวโหย (เป้าหมายที่ 2) ความเท่าเทียมทางเพศ (เป้าหมายที่ 5) การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (เป้าหมายที่ 8) ลดความเหลื่อมล้ำ (เป้าหมายที่ 10) แผนการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 12) การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (เป้าหมายที่ 13) การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (เป้าหมายที่ 14) และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (เป้าหมายที่ 15) พวกเขายังเป็นตัวอย่างที่ดีของบทบาทในการแก้ปัญหาโดยอิงธรรมชาติในการบรรเทาและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการทำางานเพื่อสร้างความตระหนักถึงบทบาทของป่าชายเลนในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ตัวอย่างที่จับต้องได้นี้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า การทำงานเพื่อบรรลุ Convention on Biological Diversity หรือ CBD (อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ) United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และ SDGs รวม เป็นหนึ่งเดียวกันในระดับท้องถิ่นได้อย่างไร
ความสามารถการปรับตัวและความยั่งยืน
การทำซ้ำ
กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์กับชุมชนใกล้เคียงบริเวณอ่าวพังงาอย่างสม่ำาเสมอ โดยแบ่งปันข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึงเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์อ่าวพังงาเพื่อการพัฒนาสังคม ที่มุ่งเน้นการจัดการกองทุนชุมชน และบ้านอ่าวกุ้ง ซึ่งเป็นเครือข่ายการเคลื่อนไหวของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน ใกล้อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
กิจกรรมที่จัดขึ้นโดยชุมชนบ้านบางลาที่ได้รับการทำาซ้ำโดยชุมชนอื่น ได้แก่
-
การเลือกสิ่งมีชีวิตที่จะเป็นจุดสนใจ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลน และการจัดการระบบนิเวศ บางชุมชนใช้พะยูน ลิงท้องถิ่น หรือกระทั่งสาหร่ายทะเลท้องถิ่น
-
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีและเยาวชน ภายใต้หัวข้อความมั่นคงด้านอาหารและป่าชายเลนในฐานะแหล่งอาหาร การสาธิตการทำอาหารได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีเยี่ยมในการสร้างความตระหนักรู้ ของสาธารณะ
-
การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายเด็กชายเลพิทักษ์ป่าชายเลน ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 3,000 คน
ความคิดริเริ่มนี้ได้รับการทำาซ้ำโดยชุมชนบ้านเกาะมะพร้าว ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ทางตะวันออกของภูเก็ต ที่มีร้านอาหารลอยน้ำและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นกิจกรรมทางธุรกิจหลัก บ้านเกาะมะพร้าวได้ส่งเสริมการรับรู้ของภาคประชาสังคม และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับชายฝั่ง ตลอดถึงการสนับสนุนการดำารงชีวิตอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ตมีบทบาทนำในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในหมู่บ้าน ในขณะที่ธุรกิจส่วนตัว เช่น โรงแรมและรีสอร์ทช่วยเหลือผ่านความรับผิดทางสังคมเชิงบริษัท (CSR)
การพัฒนาต่อยอด
ผลงานของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลา ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ในการขยายขีดความสามารถในระดับภูมิภาค กลุ่มอนุรักษ์ได้รับความสนใจในระดับสากลจากโครงการริเริ่มสองโครงการ ที่มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ระหว่างประเทศในเอเชีย คือ โครงการ the Mangroves for the Future หรือ MFF (โครงการริเริ่มป่าชายเลนเพื่ออนาคต) และโครงการ Hope and Dreams for Disaster and Environment Education + Creativity Project หรือ HANDs! (โครงการความหวังและความฝันเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม) โครงการทั้งสองโครงการนี้ได้รับทุน GEF SGP ที่บริหารจัดการโดย UNDP
MFF เป็นโครงการริเริ่มโดยการนำาของพาร์ทเนอร์ ที่ส่งเสริมการลงทุนในการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี IUCN และ UNDP เป็นประธานร่วมกัน MFF เป็นเวทีสำาหรับการทำางานร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงาน ภาคส่วน และประเทศที่กำลังจัดการกับความท้าทายต่อระบบนิเวศชายฝั่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมวิธี การจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการทั่วมหาสมุทร และเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนชายฝั่งที่พึ่งพาระบบนิเวศ
โครงการ MFF พัฒนาขึ้นมาจากการแทรกแซงการจัดการชายฝั่งทั้งก่อนและหลังสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยแรกเริ่มโครงการมุ่งเน้นไปที่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิมากที่สุด (อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ เซเชลส์ ศรีลังกา และไทย) เมื่อไม่นานมานี้ การดำเนินงานของโครงการได้ขยายไปถึงบังคลาเทศ กัมพูชา พม่า ปากีสถาน และเวียดนาม จนถึงทุกวันนี้ MFF ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการเงินอย่างมีนัยสำาคัญแก่ความพยายามในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนบ้านบางลา และเป็นเวทีสำาหรับแบ่งปันประสบการณ์และบทเรียนที่ได้เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่น ๆ ที่เผชิญกับความท้าทายในลักษณะที่คล้ายกันในภูมิภาค
โครงการ HANDs! เป็นโครงการแลกเปลี่ยนที่จัดขึ้นทุก ๆ สองปี โดยมีจุด มุ่งหมายเพื่อปลูกฝังความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในหมู่คนเอเชีย โดยการสนับสนุนเยาวชนจากประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ และไทย ในการหาทางออกที่สร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม บ้านบางลาได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานสำาหรับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ HANDs! ในปี พ.ศ. 2559 โดยได้รับการสนับสนุนจากเจแปนฟาวน์เดชั่น (Japan Foundation) และ UNDP ประเทศไทย โครงการความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชนชาวประมงชายฝั่งอ่าวพังงา ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนในท้องถิ่น ได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับเยาวชนซึ่งเข้าร่วมเยี่ยมชมการวิจัย การบรรยาย และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม สมาชิกชุมชนและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 50 คน ผู้ร่วมโครงการ HANDs! 40 คนและสมาชิกในทีม ผู้ประสานงานและที่ปรึกษาอาวุโสของ Japan Foundation รวมทั้งที่ปรึกษาของคณะทำางานเฉพาะกิจในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ร่วมกันเรียนรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลา ผู้เข้าชมได้เข้าร่วมการเสวนาชุมชนเกี่ยวกับการจัดการป่าชายเลนอย่างยั่งยืนและประสบการณ์ของชุมชนบ้านบางลาในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อรับมือกับสึนามิและภัยพิบัติอื่น ๆ เช่น คลื่นพายุซัดฝั่ง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล น้ำท่วมฉับพลัน และการบุกรุกพื้นที่ป่า โครงการเหล่านี้สร้างกลไกสำคัญในการยกระดับการทำงานของชุมชนบ้านบางลาผ่านนโยบายของรัฐบาล และโครงการขององค์กรภาคเอกชนไปสู่ระดับภูมิภาค
ความยั่งยืน
จนถึงปัจจุบันกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านบางลาได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากกองทุน GEF SGP ที่ดำเนินงานโดย UNDP โครงการ MFF และมูลนิธิส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (หน่วยงานในกำกับของรัฐ) และผู้บริจาครายอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2551 โครงการริเริ่มได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเงินปันผลจากกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชน กองทุนนี้เพิ่มขึ้นทุกปีในขณะที่กลุ่มออมทรัพย์ยังคงดำาเนินการอยู่ กองทุนได้ทำเงินเกือบ 500,000 บาท นับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน